การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล
ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว องค์กรของเรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยดำเนินธุรกิจหลักตามเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs) และมาตรฐาน GRI ด้วยความรับผิดชอบและความโปร่งใส ควบคู่ไปกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารความเสี่ยงที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม เรามีความมุ่งมั่นสร้างคุณค่าเศรษฐกิจ อย่างแท้จริงเพื่อตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
Corporate Governance

Enterprise Risk Management
Business Development and Resilience
Innovation Transformation
Product & Service Stewardship
Supply chain Management
การกำกับดูแลกิจการ
บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) เพื่อให้การบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจมีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกล่ม ตลอดจนส่งเสริมให้บริษัทฯ เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ผสานกรอบการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร ที่ครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบของจรรยาบรรณทางธุรกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมในการดำเนินงาน การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียม และการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความโปร่งใสและความรับผิดชอบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร (ESG) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อแนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และรองรับความคาดหวังของผู้ถือหุ้น นักลงทุน ลูกค้า และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการบริหารจัดการ
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นหลักในการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มบริษัท ภายใต้กรอบความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในปี 2565 บริษัทฯ จึงได้ประกาศใช้ “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี” ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 (The Principles of Good Corporate Governance of Listed Companies 2012) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกำหนดหลักปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการบริษัท ที่สอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017)
สำหรับรายละเอียด นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และนโยบายต่าง ๆ ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
อ่านรายละเอียดนโยบายเพิ่มเติม
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
อ่านรายละเอียดผลการดำเนินงานใน
แบบ 56-1 One Report 2567 หัวข้อ “ส่วนที่ 2 การกำกับดูแลกิจกรรม”
การดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน
บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร ในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability Development Steering Committee and Working Team) ขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลประเด็นด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กรอย่างเป็นระบบ รวมถึงการบูรณาการแนวคิด ESG เข้าไปในกลยุทธ์และกระบวนการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยคณะกรรมการด้านการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ จะติดตามผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กรผ่านการประชุมปีละ 1 ครั้ง และประชุมคณะทำงานชุดย่อย ปีละ 2 ครั้ง
โครงสร้างคณะกรรมการและคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
(Sustainable Development Steering Committee and Working Committee)
องค์ประกอบและการแต่งตั้ง
คณะกรรมการและคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Steering Committee and Working Team) ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีรายละเอียด ดังนี้:
1) โครงสร้าง
- กำหนดให้มีตัวแทนกรรมการบริษัทอย่างน้อย 1 ท่าน ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการด้านการพัฒนาความยั่งยืน และแต่งตั้งเลขานุการ 1 ท่าน
- สมาชิกคณะกรรมการและคณะทำงานต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทฯ และมีความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง
2) วาระการดำรงตำแหน่ง
- ประธานคณะกรรมการและคณะทำงานมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และสามารถได้รับการแต่งตั้งใหม่เมื่อครบวาระ
- การพ้นตำแหน่งอาจเกิดจากการครบวาระ, การลาออก, การเสียชีวิต หรือมติคณะกรรมการบริษัทให้พ้นตำแหน่ง
- หากตำแหน่งว่างลง คณะกรรมการด้านการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ จะพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งแทน
3) ขอบเขตอำนาจและหน้าที่
- กำกับดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์และนโยบายด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร (ESG)
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้าน ESG เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) และประเมินประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความยั่งยืน (Materiality Assessment)
- จัดทำรายงานความยั่งยืนตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ทบทวนและปรับปรุงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะทำงานการพัฒนาความยั่งยืนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ดูแลการเปิดเผยข้อมูลด้านการพัฒนาความยั่งยืนผ่านรายงานประจำปีและรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ
- ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
4) การประชุม
- คณะกรรมการและคณะทำงานฯ ต้องประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และสามารถเรียกประชุมเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
- ต้องจัดทำวาระการประชุมและเอกสารประกอบล่วงหน้าก่อนวันประชุม
- องค์ประชุมต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
5) การรายงานและการประเมินผล
- คณะกรรมการและคณะทำงานฯ ต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ต้องทำการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี และรายงานผลตอคณะกรรมการบริษัท
ผลการดำเนินงานในปี 2567
ในปี 2567 คณะกรรมการและคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล โดยมีผลการดำเนินงานสำคัญดังนี้:
- ทบทวนนโยบายของบริษัทฯ ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และกรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
- จัดทำ ESG Gap Analysis เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างของกระบวนการทำงานที่มีผลกระทบเชิงลบต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
- กำหนดกลยุทธ์และกรอบดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
- กำหนดเป้าหมายและวางแผนการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว
- สร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารระดับต้น กลางและสูง เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลักดันพนักงานภายใต้หน่วยงานที่ดูแล ให้สามารถขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดร่วมกันได้
- ติดตามความคืบหน้าของมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานสะอาดและการจัดการของเสีย
- ประเมินและติดตามการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO) รวมถึงกำหนดเป้าหมายและแนวทางลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การพัฒนาชุมชนและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
- ร่วมจัดทำรายงานประจำปี และรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐานที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด
- กำหนดแนวทางการสื่อสารด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร (ESG) ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
หมายเหตุ:
สำหรับผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยในประเด็นอื่นๆ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ใน รายงานประจำปี 2567 (Form 56-1) ที่ได้ทำการเผยแพร่ในเว็ปไซต์ของบริษัทฯ
การประเมินผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 คณะกรรมการและคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน (ESG) ได้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดตามประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่สำคัญ (Material Topics) ขององค์กร ครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล และได้มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท เมื่อปลายปี 2567
ดังนั้น การประเมินผลดังกล่าว จะถูกนำมาใช้ในปี 2568 และจะมีการนำเสนอผลการประเมินฯ ในปีถัดไป
ตารางสรุปผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแล
หัวข้อ | 2564 | 2565 | 2566 | เป้าหมายระยะยาว (ภายในปี 2572) |
---|---|---|---|---|
ผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) | - | มาตรฐาน 4 ดาว | มาตรฐาน 5 ดาว | มาตรฐาน 5 ดาว |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านบรรษัทภิบาลที่มีนัยสำคัญ | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นความเป็นส่วนตัวของลูกค้าที่มีนัยสำคัญ | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ | 0 | 0 | 0 | 0 |
สัดส่วนประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่สำคัญ ที่ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง | - | - (1) | 85% | 100% ภายในปี 2572 |
หมายเหตุ:
- รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการในประเด็นอื่น ๆ สามารถดูได้ใน รายงานประจำปี รายงานประจำปี 2567 (Form 56-1 One Report) ในหัวข้อ“การกำกับดูแลกิจการ”
- (1) ไม่มีข้อมูลในปี 2567 เนื่องจาก บริษัทฯ มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่สำคัญ เมื่อปลายปี 2567 ซึ่งจะมีการรายงานความคืบหน้าต่อไป
จรรยาบรรณธุรกิจ
บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) มีนโยบายที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม โดยกำหนดหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ซึ่งช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง ภาครัฐ และสังคมโดยรวม การปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน สำหรับรายละเอียดหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
อ่านรายละเอียดนโยบายเพิ่มเติม
หลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
แนวทางการบริหารจัดการ
เพื่อให้จรรยาบรรณทางธุรกิจเป็นกลไกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยให้ความสำคัญกับความโปร่งใสในการตัดสินใจ ความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นพัฒนาและส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญของจรรยาบรรณทางธุรกิจผ่านการอบรมและสื่อสารภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสรุปแนวปฏิบัติที่สำคัญ ได้ดังนี้:
หัวข้อแนวปฏิบัติที่สำคัญ | รายละเอียด |
---|---|
การปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบาย | ยึดมั่นและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ |
ความซื่อสัตย์และคุณธรรม | ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจเสื่อมเสียต่อหน้าที่และชื่อเสียงขององค์กร |
การให้เกียรติและความเป็นธรรม | เคารพผู้ร่วมงานและรักษาความเป็นธรรมในการบริหารจัดการ |
การปกป้องข้อมูล | รักษาความลับขององค์กร คู่ค้า ลูกค้า หรือที่เกี่ยวกับกิจการใดที่ไม่พึงเปิดเผยโดยเคร่งครัด รวมทั้งรักษาข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มบริษัท |
การใช้ข้อมูลภายใน | ไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น |
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | ไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพเดียวกัน และ/หรือ เป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ ตลอดจนไม่กระทำการที่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์แก่ส่วนตนหรือผู้อื่นโดยมิชอบ |
การป้องกันความเสียหายต่อองค์กร | ไม่กระทำการที่อาจนำไปสู่การทุจริตคอรรัปชัน การให้หรือรับสินบน ทั้งทางตรงและทางอ้อม |
ความเป็นกลางทางการเมือง | ดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ไม่นำชื่อหรือทรัพยากรของกลุ่มบริษัทไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมทางการเมือง |
การส่งเสริมจรรยาบรรณในองค์กร | จัดอบรมและสื่อสารหลักจรรยาบรรณให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน รวมทั้งจัดให้มีช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิด ตลอดจนกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนและเป็นธรรม |
ทั้งนี้ เพื่อให้แนวทางนี้มีผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล บริษัทฯ ได้ดำเนินการสื่อสารจรรยาบรรณทางธุรกิจให้แก่พนักงานทุกระดับผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น อีเมล อินทราเน็ตของบริษัทฯ การฝึกอบรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ และการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ อีกหนึ่งช่องทาง
ผลการดำเนินงานในปี 2567
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ทบทวนและปรับปรุงหลักจรรยาบรรณทางธุรกิจ กฎบัตร และนโยบายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้มั่นใจว่าหลักการดังกล่าวยังคงสอดคล้องกับมาตรฐานทางธุรกิจและกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการดำเนินงานด้านอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดอบรมเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การใช้ข้อมูลภายในของบริษัท การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้พนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย โดยมีพนักงานเข้ารับการอบรมคิดเป็นร้อยละ 83 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และทำแบบทดสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด อีกทั้ง บริษัทฯ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานผ่านแบบสอบถามเรื่อง “จริยธรรมของพนักงานในองค์กร” เพื่อวัดระดับความตระหนักรู้และการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของพนักงาน
ผลการสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ
สัดส่วนของจำนวนพนักงานที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ) | 83 |
สัดส่วนของจำนวนพนักงานที่ตระหนักรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจในระดับ “มากที่สุด” (ร้อยละ) | 91 |
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินมาตรการด้านจรรยาบรรณของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพ และสามารถส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใส ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
ดังนั้น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานที่โปร่งใสและมีบรรษัทภิบาล บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อสังคม โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด โดยบริษัทฯ มีมาตรการที่ส่งเสริมและป้องกันไม่ให้เกิดการฝ่าฝืนจริยธรรมในองค์กร ดังนี้
- การกำหนดให้พนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ ของบริษัทฯ
- การกำหนดบทลงโทษทางวินัย หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ
- การสื่อสารและอบรมให้กับพนักงานใหม่ผ่านการปฐมนิเทศ
- การสื่อสารและอบรมให้กับพนักงานประจำปี รวมทั้งทำแบบทดสอบต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
- การกำหนดและสื่อสารช่องทางแจ้งข้อร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิด การสอบสวนข้อเท็จจริง กระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียน และการแก้ไขเยียวยา ตลอดจนการป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุซ้ำ
- การทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณทางธุรกิจ นโยบาย และคู่มือการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะยังคงให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียและเสริมสร้างความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว
การบริหารจัดการความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์หล่อลื่นครบวงจรต้องเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงหลากหลายที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของธุรกิจ บริษัทฯ ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จในการรักษาความเป็นผู้นำตลาดขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ บริษัทฯ มีนโยบายและกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หล่อลื่นใหม่ ๆ รวมทั้งการขยายตลาดไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน
การจัดการเงินทุนและการบริหารความเสี่ยงทางการเงินเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทฯ มีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอ และสามารถรับมือกับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ หรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ การคาดการณ์และเตรียมจัดหาเงินทุนสำรองสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือภาวะเศรษฐกิจที่ตึงตัว จึงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ต้องเตรียมแผนรองรับไว้ ทั้งในด้านความสามารถในการผลิตที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การบริหารจัดการโรงงานผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และคุณภาพสินค้าได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิผลเพื่อรักษามาตรฐานและประสิทธิภาพ
ในส่วนของการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นเรื่องที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง การฝึกอบรม ปฏิบัติการและตรวจสอบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นประจำเป็นการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการป้องการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนการป้องกันข้อมูลและระบบสารสนเทศให้ปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง การลงทุนในเทคโนโลยีความปลอดภัยและการอบรมพนักงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลเป็นกุญแจในการปกป้องทรัพยากรข้อมูลที่สำคัญ
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามแนวทางมาตรฐานสากล เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งผู้เกี่ยวข้องยังมีความเข้าใจในหลักการบริหารความเสี่ยง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่ทุกคนในบริษัทอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมุ่งมั่นให้มีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ทั้งในส่วนของการจัดการเชิงกลยุทธ์ การปฏิบัติงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล โดยกรอบแนวทางการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ มีดังนี้
1. นโยบายการบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กร
บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องนำระบบการบริหารความเสี่ยงตาม COSO ซึ่งเป็น มาตรฐานสากลมาใช้ในการบริหารความเสี่ยง โดยมุ่งหวังให้กลุ่มบริษัทเป็นองค์กรที่สร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่ม มีภาพลักษณ์ที่ดี และพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วองค์กร สามารถสรุปสาระสำคัญของนโยบายได้ ดังนี้
สาระสำคัญของนโยบาย | แนวทางปฏิบัติ |
---|---|
1) สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อความเสี่ยง | บริษัทฯ ให้ทุกหน่วยงานตระหนักและรับผิดชอบต่อความเสี่ยงในระดับของตนเอง พร้อมกำหนดเจ้าของความเสี่ยงที่ชัดเจน |
2) ดำเนินการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ | บริษัทฯ มีการดำเนินการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมตั้งแต่การประเมิน วิเคราะห์ วางแผน และติดตามผล โดยให้เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และแผนงานขององค์กร |
3) มีการกำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยง และเตรียมแผนเผชิญรับความเสียหาย | บริษัทฯ มีการจัดทำแผนตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) |
4) สนับสนุนการพัฒนาระบบ เทคโนโลยี และข้อมูลเพื่อการบริหารความเสี่ยง | บริษัทฯ ส่งเสริมให้เกิดการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลความเสี่ยงในทุกระดับของกลุ่มบริษัท |
5) รายงานและติดตามผลความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง | หน่วยงานบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่รายงานสถานะความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหาร ไตรมาสละ 1 ครั้ง และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงการบริหารจัดการความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น |
6) มีการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ | หน่วยงานบริหารความเสี่ยงทบทวนระบบการบริหารความเสี่ยงและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อสอบทานความเพียงพอและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายใน |
2. โครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยง ถือเป็นหน้าที่ของบุคลากรของกลุ่มบริษัททุกระดับ รวมทั้งผู้ทำหน้าที่ที่ปรึกษา ผู้กระทำการแทนหรือผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำหน้าที่ในนามบริษัทโดยมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
โครงสร้าง | บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ |
---|---|
คณะกรรมการบริษัท |
|
คณะกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล |
|
คณะกรรมการบริหาร |
|
ผู้บริหาร |
|
หน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง |
|
หน่วยงานบริหารความเสี่ยง (หน่วยงานภายใน) |
|
หน่วยงานตรวจสอบภายใน (หน่วยงานภายใน) |
|
3. กระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ
บริษัทฯ ดำเนินการประเมินและทบทวนประเด็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการความเสี่ยงคงเหลือให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม การบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อ้างอิงตามหลักการหรือแนวคิด COSO - ERM 2017 (Enterprise Risk Management-Integrating with Strategy and Performance) ซึ่งมีการจัดกลุ่มองค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรออกเป็น 5 องค์ประกอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่กลุ่มบริษัท กำหนดไว้ สามารถเห็นภาพรวมของ COSO-ERM 2017 คือ
- การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร (Governance and Culture)
- กลยุทธ์และวัตถุประสงค์องค์กร (Strategy & Objective Setting)
- ผลการดำเนินงาน (Performance)
- การทบทวนและปรับปรุง (Review & Revision)
- สารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงาน (Information, Communication & Reporting)
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้มีการใช้ทะเบียนความเสี่ยง (Risk Register) และดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลัก (Key Risk Indicators) เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนหลัก | กระบวนการดำเนินการ |
---|---|
1) การกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง | กลุ่มบริษัทดำเนินการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ ขอบเขต ความรับผิดชอบ หลักเกณฑ์และแนวทางบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ และกิจการดำเนินธุรกิจ ซึ่งบริษัทมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี และจะดำเนินการจัดทำพร้อมกันกับแผนธุรกิจเพื่อให้มีความสอดคล้องกัน |
2) การระบุความเสี่ยง |
2.1 บริษัทฯ กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายภายในระดับองค์กร โดยมีแนวทางระบุความเสี่ยงดังนี้:
2.2 บริษัทฯ กำหนดให้มีผู้ประสานงานความเสี่ยง (Risk Champion) ของแต่ละส่วนงานหรือร่วมกับหน่วยงานบริหารความเสี่ยง เพื่อดำเนินการระบุความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท |
3) การวิเคราะห์ความเสี่ยง |
3.1 กำหนดให้ผู้ประสานงานความเสี่ยง (Risk Champion) และหน่วยงานบริหารความเสี่ยงทำการวิเคราะห์และประเมินระดับความเสี่ยงโดยพิจารณาโอกาสเกิด และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Criteria) พร้อมทั้งใช้ Risk Heat Map 3.2 เกณฑ์การประเมิน ด้านโอกาสเกิด (Likelihood) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก 3.3 เกณฑ์การประเมิน ด้านผลกระทบ (Impact) แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน, ด้านกฎหมาย/ข้อกำหนด, ด้านชื่อเสียง/ภาพลักษณ์องค์กร, ด้านการผลิต/การให้บริการ, ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ด้านพนักงานและสภาพแวดล้อม และด้านกลยุทธ์ 3.4 การจัดอันดับความเสี่ยงกำหนดจากผลลัพธ์ของค่าระดับความเสี่ยง (Risk Rating) จากโอกาสและผลกระทบ 3.5 การประเมินความเสี่ยงองค์กรโดยใช้ Risk Heat Map แสดงระดับความเสี่ยงขององค์กรและระดับความยอมรับได้ |
4) การจัดการความเสี่ยง |
4.1 หน่วยงานบริหารความเสี่ยงจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงขององค์กรที่มีความสำคัญตามลำดับขั้นให้เหมาะสมและจัดให้มีการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน ซึ่งการตอบสนองความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท:
|
5) สารสนเทศและการสื่อสาร | บริษัทฯ มีการใช้ระบบสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน รวดเร็ว เชื่อถือได้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ ขนาด และความซับซ้อนของธุรกิจ โดยจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทาง Share Point ของหน่วยงานบริหารความเสี่ยง และทาง Email รวมถึงการจัดให้มีการอบรม ให้ความรู้กับผู้ประสานงานความเสี่ยง (Risk Champion) เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
6) การติดตามผลและการสอบทาน |
6.1 หน่วยงานบริหารความเสี่ยงติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ ที่กำหนดไว้โดยใช้เครื่องมือ เช่น KRI (Key Risk Indicators) หรือ Mitigation Plan ร่วมกับ Risk Champion 6.2 Risk Champion มีหน้าที่ติดตามความคืบหน้าและสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานบริหารความเสี่ยงทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ผลสรุปต้องรายงานคณะกรรมการบริหาร อย่างน้อยปีละครั้ง พร้อมสรุปปัญหาและแนวทางการปรับปรุง 6.3 หน่วยงานบริหารความเสี่ยงจะจัดประชุมร่วมกับ Risk Champion อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อทบทวนและพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรให้ดีขึ้น |
แนวทางปฏิบัติในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ขององค์กร
วัตถุประสงค์ของการฝึกซ้อม BCP ปี 2567 คือ
- ทดสอบความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ ในการป้องกันและรับมือเหตุฉุกเฉิน
- ประเมินความสามารถในการจัดการเหตุการณ์ และสื่อสารระหว่างทีมงาน
- เสริมสร้างความเข้าใจ และประสิทธิภาพของกระบวนการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ
- มีการบันทึกผลการซ้อม และปรับปรุงแผน BCP ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในปีต่อไป
ขั้นตอนหลัก | กระบวนการดำเนินการ |
---|---|
การวางแผนและการเตรียมความพร้อม (Preparedness) |
|
การตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์ (Response) |
|
การฟื้นฟูและกลับสู่ภาวะปกติ (Recovery) |
|
การฝึกซ้อมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Testing & Review) |
|
วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรและมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ดำเนินการให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานสำหรับพนักงานทุกคน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการ และผู้บริหารของบริษัทมีการกำหนดนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงและสื่อสารเป้าหมายและประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรไปยังพนักงานทุกคนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการบริหารความเสี่ยง
- บริษัทมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ ความเข้าใจในกรอบการบริหารความเสี่ยงและบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลในการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
- บริษัทส่งเสริมให้มีการบูรณาการการบริหารความเสี่ยงเข้ากับการตัดสินใจทางธุรกิจ การกำกับดูแลกิจการ และการควบคุมภายใน
สามารถอ่านผลดำเนินงานด้านการบริการความเสี่ยงระดับองค์กรในปี 2567 ใน
แบบ 56-1 One Report 2567 หัวข้อ “การบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ”
ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสในทุกมิติ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงได้เพิ่มเติมแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ให้ครอบทุกมิติมากขึ้น ได้แก่
ปัจจัยความเสี่ยง | สาเหตุของความเสี่ยง | แนวทางการบริหารความเสี่ยง |
---|---|---|
1) ความเสี่ยงจากแรงงานและกำลังคน |
|
|
2) ความเสี่ยงจากการควบคุมคุณภาพ |
|
|
3) ความเสี่ยงจากซัพพลายเชน |
|
|
4) ความเสี่ยงจากการขาดความเข้าใจหรือไม่ปฏิบัติตาม |
|
|
5) ความเสี่ยงด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) |
|
|
6) ความเสี่ยงจากข้อกำหนด ESG / CSR / รายงานการเปิดเผยข้อมูล |
|
|
7) ความเสี่ยงด้านการฟ้องร้อง / ถูกปรับ |
|
|
8) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค |
|
|
9) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี (Technology Shift) |
|
|
10) ความเสี่ยงจากกฎเกณฑ์ด้าน ESG ที่เข้มข้นขึ้น |
|
|
11) ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงจาก Social Media / Whistleblowing |
|
|
ผลการดำเนินงานในปี 2567
สรุปผลการดำเนินงานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ขององค์กร
- จัดทำและทบทวนแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ขององค์กร โดยมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก เช่น โรคระบาดและภัยธรรมชาติ
-
ฝึกซ้อมแผน BCP ตามสถานการณ์สมมติ (Scenario-based Simulation)
- ฝึกซ้อมกรณีโรคระบาด (Pandemic Response Plan)
- ฝึกซ้อมแผน BCP ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบล่มและการกู้คืนข้อมูล (IT BCP)
- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM Committee) ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทางการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารความต่อเนื่องทางธรกิจของบริษัท ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- กำหนดโครงสร้างการบริหารแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยมี BCM Committee เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด และจัดตั้งทีมงานแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละทีมอย่างชัดเจน เช่น Crisis Communication Team, IT Disaster Recovery Team, BCP Team, Resume and Return Team, BCP Support Team เป็นต้น เพื่อวางระบบการจัดการเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด ให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบให้น้อยที่สุด
- ดำเนินการประเมินผลและสรุปบทเรียนจากการฝึกซ้อมพร้อมจัดทำแผนปรับปรุงกระบวนการฟื้นฟูธุรกิจ (Recovery Plan) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- สื่อสารและอบรมพนักงานเกี่ยวกับความเข้าใจในระบบ BCM ผ่านการฝึกปฏิบัติจริงและการจัดทำคู่มือแผนปฏิบัติการรับเหตุฉุกเฉิน (Emergency Response Plan : ERP) สำหรับตอบโต้เหตุฉุกเฉินแต่ละประเภท
สรุปผลการดำเนินงานการเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk culture)
- มีการกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กรอย่างชัดเจน โดยบูรณาการเข้ากับแผนธุรกิจ กลยุทธ์ และการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงาน
- แต่งตั้ง “Risk Champion” ประจำทุกหน่วยงาน เพื่อเป็นตัวแทนขับเคลื่อนการประเมิน วิเคราะห์ และติดตามความเสี่ยงในสายงานของตน
-
ดำเนินการอบรม / สื่อสารความรู้ด้านความเสี่ยงต่อพนักงานทุกระดับ
- จัดอบรม “การบริหารความเสี่ยงองค์กร” ให้กับผู้บริหารและพนักงาน
- จัด session เฉพาะกิจเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยง ร่วมกับผู้บริหารระดับกลาง–สูง
- เผยแพร่ Infographic / บทความ “Risk Talk” ผ่านช่องทางภายในองค์กร
- ส่งเสริมให้หน่วยงานมีส่วนร่วมในการระบุและบริหารความเสี่ยง รวมถึงการจัดทำแผนรับมือความเสี่ยงในระดับหน่วยงาน
- มีการประชุมแลกเปลี่ยนมุมมองความเสี่ยงระหว่าง Risk Champion กับผู้บริหารอย่างน้อย 1–2 ครั้งต่อปี เพื่อเสริมสร้าง “ความเข้าใจร่วม” ในการรับมือกับความไม่แน่นอน
การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญต่อการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง และยึดมั่นว่าการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบเป็นพฤติกรรมที่ไม่อาจยอมรับได้ ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างองค์กรที่มีคุณธรรม ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย บริษัทฯ จึงได้จัดทำนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และประกาศใช้ทั่วทั้งองค์กร
อ่านรายละเอียดนโยบายเพิ่มเติม
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ ได้กำหนดและประกาศใช้ นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกาศและมีผลบังคับใช้ครอบคลุมถึงกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และตัวแทนทางธุรกิจ โดยนโยบายดังกล่าวเน้นการปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมขององค์กร ทั้งในด้านการให้หรือรับของขวัญ การจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญากับภาครัฐและเอกชน การบริจาค การให้เงินสนับสนุน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
ในด้านการนำไปปฏิบัติจริง บริษัทฯ ได้วางระบบควบคุมภายในที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล มีการประเมินความเสี่ยงเชิงระบบ ตรวจสอบความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตอย่างสม่ำเสมอ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สามารถป้องกันพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสที่เป็นความลับ ปลอดภัย และไม่เปิดเผยตัวตน พร้อมทั้งมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งข้อมูลตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯ ให้คำมั่นว่าจะไม่ลดตำแหน่ง ไม่ลงโทษ และไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นผลลบต่อพนักงานหรือบุคคลที่แสดงออกถึงการปฏิเสธการทุจริต แม้จะทำให้บริษัทฯ เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ
มากไปกว่านั้น หนึ่งในเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: Thai CAC) ซึ่งเป็นโครงการภาคเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนจากหอการค้าไทยและองค์กรภาคีที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจยึดมั่นในความโปร่งใสและความรับผิดชอบ
บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายในการประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วม Thai CAC ภายในปี พ.ศ. 2573 และจะดำเนินการยื่นสมัครเพื่อเป็น สมาชิกอย่างเป็นทางการภายในปี พ.ศ. 2575 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจที่จริงจังในการยกระดับองค์กรให้มีมาตรฐานการต่อต้านการทุจริตในระดับประเทศ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว บริษัทฯ ได้วางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการนำแนวทาง Thai CAC มาปรับใช้ในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง ผ่านการดำเนินงานดังต่อไปนี้:
- ศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ Thai CAC อย่างละเอียด โดยจัดตั้งคณะทำงานด้าน CAC เพื่อกำกับ ติดตาม และรายงานความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การรับรอง Thai CAC ต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
- จัดทำการประเมิน Gap Analysis ระหว่างระบบการควบคุมภายในในปัจจุบันของบริษัทฯ กับข้อกำหนดของ Thai CAC เพื่อกำหนดแผนการพัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนด
- พัฒนากลไกการควบคุมความเสี่ยงเชิงรุก (Proactive Risk Control) โดยเฉพาะกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญและมีความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การว่าจ้างผู้รับเหมา การบริจาค และการสื่อสารกับหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
- ส่งเสริมการอบรมและสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อปลูกฝังความตระหนักรู้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับบริหารสูงสุด เช่น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในด้านความซื่อสัตย์ในที่ทำงาน จัดกิจกรรมรณรงค์ "No Gift Policy"
- เตรียมความพร้อมเอกสารหลักฐานเชิงระบบ สำหรับการยื่นสมัคร Thai CAC อย่างรอบคอบ เช่น แผนงานนโยบาย รายงานผลการอบรม ช่องทางรับเบาะแส รายงานสอบสวนข้อร้องเรียน และบันทึกการประเมินความเสี่ยง
การดำเนินงานทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทฯ มิได้มุ่งหวังเพียงการได้รับการรับรอง Thai CAC ในเชิง "สัญลักษณ์" แห่งความโปร่งใสเท่านั้น หากแต่เป็นการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิด “ระบบบรรษัทภิบาลภายในองค์กรอย่างแท้จริง” ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืนในระยะยาว
กระบวนการจัดการข้อร้องเรียน
บริษัทฯดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาล ความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ โดยเชื่อมั่นว่าการมีระบบบริหารจัดการที่เปิดเผย ตรวจสอบได้ และรับฟังเสียงจากทุกฝ่าย จะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนในระยะยาว
เพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าว บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ครอบคลุม และสามารถนำไปใช้ได้จริงในทุกระดับขององค์กร หนึ่งในนั้นคือ “นโยบาย การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด (Whistleblowing Policy)” ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และ ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน
อ่านรายละเอียดนโยบายเพิ่มเติม
นโยบายการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด
นโยบายดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย และบุคคลภายนอก สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต การไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย กฎระเบียบ หลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ นโยบาย หรือระเบียบข้อบังคับใด ๆ ของบริษัทฯ โดยผู้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำหนดกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าทุกข้อร้องเรียนจะได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรม รอบคอบ และเป็นธรรม
การกำหนดนโยบายนี้ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้:
1) ผู้มีสิทธิร้องเรียน
ผู้มีสิทธิร้องเรียน ได้แก่ บุคลากรทุกระดับของบริษัทฯ รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐ ชุมชน สังคม ซึ่งมีข้อสงสัยหรือเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่า กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือบุคคลใดที่กระทำการแทนบริษัทฯ มีการกระทำหน้าที่ไม่สุจริต ไม่โปร่งใส การกระทำอันประพฤติมิชอบ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย กฎระเบียบ หลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ นโยบายหรือระเบียบข้อบังคับใด ๆ ของบริษัทฯ
2) ช่องทางการร้องเรียน
ผู้ร้องเรียนสามารถ ร้องเรียนได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนของผู้ร้องเรียน เว้นแต่หากเปิดเผยตนเองจะทำให้สามารถแจ้งผลการดำเนินการหรือรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องที่ร้องเรียนให้ทราบได้ โดยผู้ร้องเรียนสามารถส่งข้อมูลและติดต่อมายังช่องทางรับเรื่องดังนี้
อีเมล
- ประธานกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล / กรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล: hotline@psp.co.th
- หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน: internal.audit@psp.co.th
- เลขานุการบริษัท: comsec@psp.co.th
ไปรษณีย์
ส่งถึงที่อยู่:
บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) 100/149 หมู่ 1 ถนนวิเชียนโชฎก ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 ประเทศไทย3) กระบวนการตรวจสอบและพิจารณาเรื่องร้องเรียน
ลำดับ | ขั้นตอน | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | กลั่นกรองข้อร้องเรียน | ผู้รับเรื่องทำการตรวจสอบเบื้องต้นว่าเรื่องร้องเรียนอยู่ในขอบเขตที่กำหนด มีข้อมูลเพียงพอ และสมควรเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบหรือไม่ |
2 | แต่งตั้งผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง | คณะกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล หรือคณะกรรมการบริษัท (ตามกรณี) มอบหมายผู้ตรวจสอบฯ ทำหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง |
3 | การให้ข้อมูลเพิ่มเติม | ผู้ร้องเรียนอาจได้รับการติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และสามารถสอบถามความคืบหน้าได้ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบ |
4 | การชี้แจงของผู้ถูกร้องเรียน | หากข้อกล่าวหามีมูล ผู้ถูกร้องเรียนจะได้รับสิทธิในการรับทราบข้อกล่าวหา และสามารถนำเสนอข้อมูลหรือหลักฐานเพื่อพิสูจน์ตนเองได้อย่างเป็นธรรม |
5 | สรุปผลการตรวจสอบ | หากพบว่าข้อร้องเรียนมีมูลจริง ผู้ตรวจสอบฯ จะรายงานผล พร้อมความเห็น ต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล และ/หรือคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาดำเนินการทางวินัยหรือทางกฎหมาย |
6 | แจ้งผลและติดตาม | คณะกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล จะเเจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ร้องเรียนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับรายงานผลจากผู้ตรวจสอบฯ |
7 | การเยียวยาความเสียหาย (ถ้ามี) | หากข้อร้องเรียนส่งผลให้บุคคลใดได้รับความเสียหาย บริษัทฯ จะพิจารณาดำเนินการเยียวยาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับผู้เสียหายตามที่เห็นสมควร |
4) การคุ้มครองปกป้องผู้ร้องเรียน
- ผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตัวตนได้ หากเกรงว่าจะได้รับความเสียหาย
- บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียน เอกสาร และหลักฐานทั้งหมดเป็นความลับขั้นสูงสุด
- ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่มีเหตุจำเป็น หรือโดยไม่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนจะได้รับโทษทางวินัย
- บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้มีการกลั่นแกล้ง เลือกปฏิบัติ หรือละเมิดสิทธิใด ๆ ต่อผู้ร้องเรียน ผู้ให้ถ้อยคำ หรือพยาน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
- พนักงานที่ละเมิดข้อห้ามข้างต้นจะถูกลงโทษทางวินัย และ/หรืออาจได้ รับโทษ ตามที่กฎหมายกำหนด
5) การร้องเรียนโดยไม่สุจริต
หากตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ร้องเรียนมีเจตนาร้องเรียนโดยไม่สุจริต หรือ จงใจ กลั่นแกล้ง ใส่ร้าย บิดเบือนข้อเท็จจริง บริษัทฯ จะดำเนินการตามความเหมาะสม ทั้งในเชิงวินัย และอาจดำเนินคดีตามกฎหมายในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ
ผลการดำเนินงานในปี 2567
ในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ นโยบาย หรือระเบียบข้อบังคับใด ๆ ของบริษัทฯ โดยผลการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้:
รายการดำเนินงาน | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1. จำนวนเหตุการณ์หรือข้อพิพาทที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการทุจริต | 0 กรณี |
2. จำนวนข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่ตรวจสอบแล้วว่ามีมูล | 0 กรณี |
3. สัดส่วนพนักงานที่ได้รับการอบรมนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน | 83% |
4. การทบทวนนโยบายต่อต้านการทุจริต | ดำเนินการเป็นประจำทุกปี |
5. แผนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก Thai CAC | อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ถึงปี 2575 |
แนวทางการบริหารจัดการตามนโยบายทั้งสองฉบับนี้ ไม่เพียงเป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของบุคลากรในทุกระดับ หากแต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กร ให้ยึดมั่นในหลักความโปร่งใส ความซื่อสัตย์สุจริต และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการ ให้ก้าวทันแนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล และเตรียมความพร้อมอย่างมั่นคงในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมต่อต้านการทุจริตของภาคเอกชนไทย (Thai CAC)
การดำเนินงานภายใต้กรอบนโยบายดังกล่าว ยังถือเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 16: สันติภาพ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (Peace, Justice and Strong Institutions) ซึ่งสอดคล้องอย่างยิ่งกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทฯ ในการเป็นองค์กรที่เติบโตบนหลักแห่งบรรษัทภิบาล ความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกมิติ
การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทฯ มุ่งประกอบกิจการโดยคำนึงถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย มิได้มุ่งเน้นเพียงผลกำไร แต่ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปัน และการสร้างการมีส่วนร่วม
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
- เงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการ
- เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าใช้จ่ายในการดูแลและพัฒนาพนักงาน
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
- ค่าจ้างผู้รับเหมา
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อื่นๆ
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
- ดอกเบี้ย
- ค่าใช้จ่ายด้านการเงิน
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
- เงินปันผล
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
- ค่าธรรมเนียมภาครัฐ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีบำรุงท้องถิ่น
- ภาษีโรงเรือน
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
- งบประมาณในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
ในปี 2567 บริษัทฯ มีการกระจายรายได้ไปแก่ผู้ส่วนได้เสียพอสังเขปดังนี้
- การจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นรวม 280.00 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.91% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กระจายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
- การลงทุนด้านการพัฒนาชุมชนและสังคมรวม 5.58 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.32% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กระจายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
- การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมรวม 3.99 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.23% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กระจายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
หมายเหตุ:
บริษัทฯ สามารถอ่านเนื้อหาด้านการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติมได้ใน รายงานความยั่งยืนประจำปี 2567
นวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน การนำเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ ๆมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงานช่วยให้บริษัทฯ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด "Digital Transformation และ Smart Operations" บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบอัตโนมัติ (Automation), ปัญญาประดิษฐ์ (AI), และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Analytics) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการดำเนินงาน ลดข้อผิดพลาด และสร้างกระบวนการทำงานที่รวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น
ผลการดำเนินงานในปี 2567
บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายและผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการทำงาน ครอบคลุม 3 โครงการหลัก ดังนี้
เป้าหมายสำคัญ 3 โครงการหลัก | ผลการดำเนินงานปี 2566 | ผลการดำเนินงานปี 2567 | เป้าหมายในปี 2572 |
---|---|---|---|
1) โครงการ “Digital Transformation” “ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างน้อยร้อยละ 10” |
ศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของโครงการ Digital Transformation และเริ่มดำเนินการขึ้นระบบ SAP เฟส 1 | เตรียมการเพื่อขึ้นระบบ SAP สำหรับเฟส 2 | นำระบบ ERP และ Digitalization มาประยุกต์ใช้กับบริษัทย่อยทุกบริษัท รวมถึงการนำข้อมูลแบบ Real Time มาวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุด |
2) โครงการ “Automation” “มูลค่าการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบ Automation เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ภายในปี 2572” |
ศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบ Automation | ลงทุนในระบบ Automation ของส่วนงาน Filling เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต | ลงทุนในโครงการ Lube Modernization Project เพื่อยกระดับกระบวนการผลิต โดยปรับปรุงระบบการทำงาน เปลี่ยนกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานรวดเร็ว ยืดหยุ่น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน |
3) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีนวัตกรรมสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และเมกาเทรนด์ “จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ SKU ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเมกะเทรนด์ จำนวน 5 SKU ต่อปี” |
เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่:
|
พัฒนาผลิตภัณฑ์ Bio-Based Lubricant ที่พัฒนามาจาก Palm Oil ผ่านความร่วมมือกับ สวทช. และผู้ใช้งาน โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าและน้ำมันผสมยาง | ลงทุน Project RRBO ควบคู่กับการพัฒนาเครือข่าย Used Lube Collection เพื่อเสริมความยั่งยืนทางธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม |
หมายเหตุ:
สามารถอ่านเนื้อหาด้าน “นวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ” เพิ่มเติมได้ใน รายงานความยั่งยืนประจำปี 2567
ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดีและบริการที่มีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพที่ชัดเจนและสูงสุดตามหลักเกณฑ์สากล โดยดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพเป็นประจำ
ผลการดำเนินงานในปี 2567
ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุดของผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนที่เข้าถึงได้ตลอดเวลาเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า เพื่อรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ ที่ มากกว่าร้อยละ 80 และให้ มากกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2572 ต่อไป
หัวข้อ | 2566 | 2567 | เป้าหมาย 2572 |
---|---|---|---|
จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นความเป็นส่วนตัวของลูกค้าที่มีนัยสำคัญ (PDPA) | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์และบริการในภาพรวมที่มีนัยสำคัญ | 0 | 0 | 0 |
จำนวนเหตุการณ์การละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานหรือคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีนัยสำคัญ | 0 | 0 | 0 |
ความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท (ร้อยละ) | |||
1. ความพึงพอใจของลูกค้าด้านบริการส่งมอบสินค้า | 92.75% | 92.90% | 95% |
2. ความพึงพอใจของลูกค้าด้านบริการคลังเก็บน้ำมัน | 96.71% | 99.16% | 95% |
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในห่วงโซ่ธุรกิจ (Value Chain) โดยเฉพาะคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภายใต้แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ เป็นธรรม โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ ยึดหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งพัฒนาขีดความสามารถร่วมกันอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานในปี 2567
1) การกำหนดกรอบการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Supplier Due Diligence Framework)
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล เพื่อใช้เป็น เกณฑ์ในการพิจารณาคู่ค้ารายใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าคู่ค้าที่บริษัทฯ จะร่วมงานด้วยนั้น มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร โดยมีกรอบการประเมินที่ประกอบด้วยเกณฑ์หลัก ดังตัวอย่างเช่น:
ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) | ด้านสังคม (Social) | ด้านบรรษัทภิบาล (Governance) |
---|---|---|
|
|
|
การใช้กรอบการประเมินนี้ช่วยให้บริษัทฯ สามารถคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับแนวทางขององค์กร ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และสร้างความมั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ สนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว ทางบริษัทฯ คาดว่าจะเริ่มใช้เกณฑ์ประเมินดังกล่าวกับคู่ค้ารายใหม่ทุกรายตั้งแต่ปี 2568 โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมกลุ่มคู่ค้ารายปัจจุบันที่มีสถานะ “ACTIVE” ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2572 ซึ่งจะมีการรายงานความคืบหน้าของผลการดำเนินงานในรายงานความยั่งยืนในปีถัดไป
2) การจัดกลุ่มคู่ค้า
บริษัทฯ ได้ทำการจัดกลุ่มคู่ค้าแยกตามประเภทของสินค้าหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในกระบวนผลิตออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
- กลุ่มวัตถุดิบหลัก ซึ่งถูกแบ่งเป็น ADDITIVE และ BASE OIL ที่ซื้อจากคู่ค้าทั้งจากภายในและต่างประเทศ
- กลุ่มบรรจุภัณฑ์ ที่ซื้อจากคู่ค้าทั้งจากภายในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้จัดทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่มีต่อคู่ค้าตามหลัก Spent Analysis เพื่อจัดอันดับความสำคัญของคู่ค้าแต่ละรายผ่านการใช้จ่ายต่อปี และนำไปแบ่งกลุ่ม พร้อมทั้งทำการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าและการบริการ
สรุปการประเมินความสำคัญเพื่อจัดกลุ่มคู่ค้าแบ่งตามประเภทของสินค้าหรือวัตถุดิบ ประจำปี 2567
ตารางที่ 1 กลุ่มวัตถุดิบหลัก
ประเภทวัตุดิบหรือสินค้า | จำนวนคู่ค้าทั้งหมด | จำนวนคู่ค้ารายสำคัญทั้งหมด 1 | ||
---|---|---|---|---|
ภายในประเทศ | ต่างประเทศ | ภายในประเทศ | ต่างประเทศ | |
1) ADDITIVE | 58 | 29 | 7 | 7 |
จำนวนคู่ค้ารวม | 87 | 14 | ||
2) BASE OIL | 14 | 14 | 3 | 6 |
จำนวนคู่ค้ารวม | 28 | 9 |
ตารางที่ 2 กลุ่มบรรจุภัณฑ์
ประเภทวัตุดิบหรือสินค้า | จำนวนคู่ค้าทั้งหมด | จำนวนคู่ค้ารายสำคัญทั้งหมด 1 | ||
---|---|---|---|---|
ภายในประเทศ | ต่างประเทศ | ภายในประเทศ | ต่างประเทศ | |
1) บรรจุภัณฑ์ | 62 | 5 | 9 | 0 |
จำนวนคู่ค้ารวม | 67 | 9 |
หมายเหตุ:
บริษัทฯ 1 คือจำนวนคู่ค้าที่ผ่านกระบวนวิเคราะห์ความสำคัญตามหลักการ Spent Analysis แต่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ด้าน ESG (Supplier Due Diligence) ซึ่งจะมีการดำเนินการในปีถัดไป
3) การบริหารจัดการคลังวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุนการบริหาร
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบอย่างเป็นระบบ ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) โดยมุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางดังต่อไปนี้:
การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ ได้ดำเนินการวางแผนการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการสูญเสีย (Material Loss) และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บวัตถุดิบ โดยนำแนวทาง Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและมาตรฐานในการคัดเลือกและจัดเก็บวัตถุดิบ โดยให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เช่น ISO 14001 (Environmental Management System) และ FSC (Forest Stewardship Council) สำหรับวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบที่ใช้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม
การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) รวมถึงการใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เช่น การเลือกใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled Materials) และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในการจัดเก็บและขนส่งวัตถุดิบ
การบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับคู่ค้าที่มีนโยบายหรือหลักปฏิบัติที่สอดคล้องกับการพัฒนาความยั่งยืน โดยกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกคู่ค้า เช่น การมีแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานมีความโปร่งใสและเป็นธรรม บริษัทฯ กำลังศึกษาการจัดทำ Supplier Due Diligence เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้า โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการจัดหาและบริหารจัดการซัพพลายเชนเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส และเป็นธรรม ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งหวังให้คู่ค้ามีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ
บริษัทฯ ได้นำระบบ Automation รวมทั้งระบบ Inventory Forecasting และ IoT (Internet of Things) มาใช้ในการติดตามและบริหารจัดการวัตถุดิบแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการบริหารสต็อก ลดความสูญเสียจากการเก็บรักษา บริหารต้นทุนอย่างมีคุณภาพ และปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างยืดหยุ่น
การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรด้านความยั่งยืน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกด้านความยั่งยืนให้กับพนักงาน โดยจัดอบรมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการลดของเสีย การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความยั่งยืน เพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กร
นโยบายและแนวทางเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการจัดการคลังวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างคุณค่าทางธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาว
ผลการดำเนินงานในปี 2567
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบเพื่อเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นให้ เกินร้อยละ 15 ของรายได้สุทธิภายในปี 2572 และจะรายงานผลการดำเนินงานต่อไป