บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการที่ดี ยึดมั่นในคุณธรรมและหลักธรรมาภิบาล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยวิสัยทัศน์ "ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์หล่อลื่นครบวงจร ที่พร้อมไขว่คว้าทุกโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และไร้ขีดจำกัด"
โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร การบริหารองค์กร ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมถึงการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ เพื่อการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืน ตามมาตรฐานการจัดทำรายงานของ Global Reporting Initiative Standards (GRI Standards) และมีการวิเคราะห์ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations: Sustainable Development Goals: UN SDGs)
บริษัทฯ ได้จัดทำกลยุทธ์และวางแผนการดำเนินงาน โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Steering Committee & Working Committee) เพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กรให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดกรอบการดำเนินงานให้ชัดเจน เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้รับการกำหนดร่วมกันจากทุกภาคส่วนขององค์กร
กลยุทธ์และกรอบการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้จัดทำกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรขึ้น เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีเป้าหมายภายในปี 2570 ด้วยกรอบกลยุทธ์ 3 ประการ ได้แก่


Governance & Economic
มุ่งมั่นการต่อยอด พัฒนา และปรับตัวของธุรกิจ
การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์หล่อลื่นครบวงจรที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ พร้อมการต่อยอดทุกโอกาสทางธุรกิจพัฒนา และปรับตัวให้รับได้กับทุกความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและไร้ขีดจำกัด (Business Development and Resilience)


Environment
มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
บริษัทฯ จะดำเนินกระบวนการในการส่งมอบคุณค่าของสินค้าและบริการบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเข้าใจคุณค่าของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Value Consumption and Circular Economy)


Social
พัฒนาทักษะความรู้และความเข้าใจในองค์กรของทรัพยากรมนุษย์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศพร้อมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทฯ พัฒนาทักษะความรู้และความเข้าใจในองค์กรของทรัพยากรมนุษย์มุ่งสู่ความเป็นเลิศ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (People Development and Excellence)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
บริษัทฯ ได้จัดทำกลยุทธ์และวางแผนการดำเนินงานผ่านการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG Policy) พร้อมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนขึ้นในองค์กร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกลยุทธ์ 3 ประการได้แก่
Corporate Governance

Enterprise Risk Management
Business Development and Resilience
Innovation Transformation
Product & Service Stewardship
Supply chain Management
GHG Management

Energy Management
Water and Effluents
Waste Management
Biodiversity
ESG Compliance
กรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
บริษัทฯ ได้จัดทำกรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีเป้าหมายภายในปี 2572 แบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ที่หล่อเลี้ยงครบวงจร ที่พร้อมไขว่คว้าทุกโอกาสเพื่อการเติบโตอย่าง ยั่งยืน และไร้ขีดจำกัด

กรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
ระยะสั้น
สร้างรากฐานและวางแนวปฏิบัติ
- กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและมาตรฐานสากล
- พัฒนาและปรับปรุงนโยบายด้าน ESG รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
- จัดตั้งกลไกการกำกับดูแลด้านความยั่งยืนและกลุ่มผู้รับผิดชอบโดยตรง
- ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ระยะกลาง
พัฒนาขีดความสามารถและการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม
- นำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาใช้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล
- ขยายแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุมคู่ค้าทางธุรกิจทุกประเภท
- ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานผ่านแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Upskilling & Reskilling)
- พัฒนาเครื่องมือและระบบติดตามผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สามารถวัดผลได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณอย่างเป็นรูปธรรม
ระยะยาว
เสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน
- มุ่งสู่การเป็นองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ตามกรอบมาตรฐานสากล
- พัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างยั่งยืน
- ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance - CG) ให้เป็นแนวหน้าของอุตสาหกรรม
- ขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในระดับภูมิภาคและระดับสากล เพื่อสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง
การวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร (PSP Materiality Matrix)
ประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืนจะถูกประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญตามกรอบการบริหารจัดการที่อ้างอิงจากมาตรฐานสากล Global Reporting Initiative (GRI) โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อบริษัท และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียซึ่งครอบคลุมประเด็นทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจและมีความคาดหวัง ทั้งนี้ผลการประเมินประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรจะได้รับการทบทวนและอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเป็นแบบรายปีซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Material Topics
Governance & Economic
- 1 Corporate Governance and Business Ethics
- 2 Anti-corruption
- 3 Risk Management & Business continuity management
- 4 Conflict and security
- 5 Business Development and Resilience
- 6 Innovation
- 7 Process Improvement
- 8 Tax Management
- 9 Procurement Practices & Supplier management
- 10 Customer and Product Stewardship
Social
- 11 Occupational health and safety
- 12 Employee Management
- 13 Employee Development
- 14 Corporate Philanthropy
Environment
- 15 GHG emissions
- 16 Energy Management
- 17 Water and Effluents
- 18 Waste Management
- 19 Biodiversity
- 20 ESG Compliance
ห่วงโซ่ธุรกิจ (Business Value Chain)
ห่วงโซ่ธุรกิจ (Business Value Chain) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดจำหน่าย ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ในบริบทของความยั่งยืน องค์กรจำเป็นต้องบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่
การดำเนินงานที่คำนึงถึงความยั่งยืนในห่วงโซ่ธุรกิจไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการที่โปร่งใส ยุติธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่ธุรกิจสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (PSP Stakeholders Engagement Analysis)
บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย (Management Framework: Stakeholder Analysis) โดยพิจารณาตามแนวทางที่กำหนดเอาไว้ใน GRI Standard version 2021 โดยให้แต่ละหน่วยงานมีหน้าที่วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของตนเองและตามห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของ PSP โดยผลการวิเคราะห์ที่ได้จากแต่ละหน่วยงานจะถูกนำมาวิเคราะห์ในการจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของ PSP โดยมีรายละเอียดดังนี้
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การสื่อสารภายในองค์กร
- การประชุมระหว่างผู้บริหารพบพนักงาน (Town Hall)
- การประชุมพนักงานประจำเดือน
- การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ อินทราเน็ต และอีเมล
- การประชุมคณะกรรมการสวัสดิการ
- การสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรประจำปี
- การจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียน
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- ทิศทางการดำเนินธุรกิจ
- ผลการดำเนินงานของบริษัท
- จริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท
- คุณภาพชีวิตของพนักงาน
- ค่าตอบแทน สวัสดิการ และผลประโยชน์ที่เหมาะสม
- สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
- การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
- การปฏิบัติที่เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การกำกับดูแลกิจการ
- จริยธรรมทางธุรกิจ
- การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
- นวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- การดูแลพนักงาน
- การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าประจำปี
- การจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ /กิจกรรมทางการตลาด
- การพบปะและประชุมโดยตรงกับลูกค้า
- การสื่อสารออนไลน์/อีเมล
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- การบริการหลังการขาย
- การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
- การตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของลูกค้า
- การรักษาข้อมูลความลับของลูกค้า
- การปฏิบัติที่เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผลิตภัณฑ์
- นวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ก๊าซเรือนกระจก
- การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ พลังงาน และขยะ
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
- การพบปะและประชุมโดยตรง
- ช่องทางรับข้อเสนอแนะนำ หรือข้อร้องเรียน
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- จริยธรรมทางธุรกิจ
- ความเสมอภาคในการทำธุรกิจ
- กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสและเป็นธรรม
- การรักษาข้อมูลความลับของคู่ค้า
- การปฏิบัติที่เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
- การกำกับดูแลกิจการ
- การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
- สิทธิมนุษยชน
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
- การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
- ช่องทางสื่อสารอื่นๆเพื่อรับข้อแนะนำ หรือข้อร้องเรียน
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
- การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนและสังคม
- การสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนและสังคม
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การมีส่วนร่วมในชุมชน
- กิจกรรมเพื่อสังคม
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การประชุมกรรมการในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
- การนำเสนอข้อมูลเพื่อการลงทุนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- การประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานของบริษัทฯ
- การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นที่เป็นธรรมและเท่าเทียม
- มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันต่อเหตุการณ์
- มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
- มีผลการดำเนินงานที่ดีและการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
- มีการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การกำกับดูแลกิจการ
- การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
- การบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การประชุมนักวิเคราะห์
- การประชุมร่วมกับเจ้าหนี้
- การเยี่ยมชมกิจการ
- การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- การปฏิบัติตามเงื่อนไขของการกู้เงินและหุ้นกู้
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- จริยธรรมทางธุรกิจ
- การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
- การบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การร่วมสนับสนุนโครงการที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ
- การเข้าร่วมในคณะทำงานของหน่วยงานภาครัฐ
- การเยี่ยมชมกิจการ
- การเปิดเผยข้อมูลหรือรายงานตามที่ต้องการ
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
- การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การมีส่วนร่วมในชุมชน
- กิจกรรมเพื่อสังคม
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
- การกำกับดูแลกิจการ
- การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- ข่าวประชาสัมพันธ์/การแถลงข่าว
- การสัมภาษณ์พิเศษตามที่สื่อต้องการ
- การเปิดเผยข้อมูลหรือรายงานตามที่ต้องการ
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- การได้รับข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
- เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เท็จจริง
- การปฏิบัติต่อสื่อมวลชนที่ดี
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การกำกับดูแลกิจการ
- การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
- การมีส่วนร่วมในชุมชน
- กิจกรรมเพื่อสังคม
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การประชุมร่วมกันที่องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับในอุตสาหกรรม
- การร่วมกันทำงานเป็นเครือข่ายตามนโยบายภาครัฐ
ประเด็นผู้มีส่วนได้เสีย
- การแข่งขันที่เป็นธรรม
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
ประเด็นการพัฒนา ที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
- การกำกับดูแลกิจการ
- ความท้าทายและโอกาส
- จริยธรรมทางธุรกิจ
- การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนการดำเนินงานกับความสอดคล้องของเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ (Consistency with the United Nations Sustainable Development Goals)
คณะกรรมการและคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร
ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้กลยุทธ์และกรอบการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล ทางบริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนระดับองค์กร (PSP Sustainable Development Steering Committee and Working Committee) โดยมีรายละเอียดดังนี้