Environment
บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะองค์กรที่มีบทบาททั้งในฐานะผู้สร้างผลกระทบ และผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้พลังงาน การจัดการของเสีย และการปล่อยมลพิษ จนถึงผลกระทบทางอ้อมจากการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะกรรมการและคณะทำงานการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Steering Committee & Working Committee) เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย กรอบการดำเนินงานและเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้อง
มากไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังมีการทบทวนระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร
อีกทั้ง บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและดำเนินการตามหลักบรรษัทภิบาลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนต่อองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
GHG Management

Energy Management
Water and Effluents
Waste Management
Biodiversity
ESG Compliance
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อบริษัทและชุมชนในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจและสังคมในระดับโลก บริษัทฯ จึงได้พัฒนานโยบายและแนวทางในการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกส่วนของการดำเนินงาน และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบและจัดการการปล่อยมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไม่เพียงแต่ช่วยลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังช่วยให้บริษัทฯ สามารถประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังใช้วัสดุอย่างยั่งยืนและมีการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดปริมาณของเสียและการปล่อยก๊าซจากการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ทำการทบทวนข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างของบริษัทฯ เพื่อเตรียมข้อมูลรองรับการจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นขององค์กร สรุปปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามขอบเขตได้ดังนี้
ภาพรวมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ขอบเขต พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทมีการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จาก 189,474 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี 2566 เป็น 229,245 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี 2567 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตและการขยายตัวของบริษัทตลอดระยะเวลาที่รายงาน ทั้งนี้บริษัทได้รับรู้ถึงความจำเป็นในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและได้วางแผนการลดการปล่อยทั้งหมด โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงาน การปรับปรุงความเป็นประสิทธิภาพของเครื่องจักร และการใช้เชื้อเพลิงอย่างรู้คุณค่า นอกจากนี้ยังมีการตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบและควบคุมการปล่อยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน
ตารางสรุปการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ประเภทระหว่างปี 2021-2023
ขอบเขต | ปริมาณ GHG (ton CO2e / year ) | |
---|---|---|
2566 | 2567 | |
ประเภท 1 | 3,267 | 3,291 |
ประเภท 2 | 4,483 | 4,282 |
ประเภท 3 | 181,724 | 221,772 |
อื่น ๆ | 104 | 146 |
รวมประเภท 1 และ 2 | 7,750 | 7,473 |
ผลรวม (ประเภทที่ 1+2+3) | 189,474 | 229,245 |
หมายเหตุ:
- บริษัทฯ มีการจัดทำรายงานการปลดปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กรตั้งแต่ปี 2566 เท่านั้น
- การจัดทำรายงานรายงานการปลดปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กรประจำปี 2567 อยู่ระหว่างการทวนสอบจากหน่วยรับรองการจัดการก๊าซเรือนกระจก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และขอขึ้นทะเบียนรับรองจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งจะรายงานผลความคืบหน้าในรายความยั่งยืนประจำปี 2567 ซึ่งจะเผยแพร่ในเว็ปไซต์ของบริษัทฯ ต่อไป
การจัดการพลังงาน
บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินงานที่เน้นไปที่การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานที่มีความเชี่ยวชาญสูง ทำหน้าที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนมาตรการอนุรักษ์พลังงานตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 โดยมีการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานของบริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ที่มุ่งเน้นการประหยัดพลังงานและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกำหนดของรัฐบาลที่กำหนดไว้ นโยบายมีรายละเอียดเกี่ยวข้อง ได้แก่

- การจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงานแบบครบวงจรตั้งแต่การตรวจสอบพลังงาน การประเมินผล การจัดทำมาตรการปรับปรุงจนถึงการติดตามผล
- การตั้งเป้าหมายการลดการใช้พลังงานโดยกำหนดเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานให้ชัดเจน โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
- การฝึกอบรมและสร้างความตระหนักในด้านพลังงาน จัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และสร้างความตระหนักในด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับพนักงานทุกระดับ
- การติดตามและรายงานผล มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและจัดทำรายงานส่งให้กับผู้บริหารเพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2567 คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร ได้กำหนดแผนและดำเนินกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการใช้พลังงาน สำหรับผลการดำเนินการตามแผนที่ได้กำหนดไว้ เช่น การลดรอบการทำงานของเครื่องจักร, การปรับลดแรงดันลม, และการตั้งค่าอุณหภูมิ และติดตั้งอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อใช้พลังงานน้อยลงสามารถสรุป ได้ดังนี้
โครงการอนุรักษ์พลังงาน | ผลการดำเนินงานในปี 2567 |
---|---|
โครงการลดรอบการทำงานของปั๊มหล่อเย็นเครื่องบด |
|
โครงการปรับลด Pressure ลม จาก 7.0bar เหลือ 6.2bar |
|
โครงการปรับลด Set Point น้ำมัน Hot Oil |
|
การบริหารทรัพยากรน้ำ
น้ำถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ในทุกมิติ ทั้งในกระบวนการผลิต การบำบัด และการใช้ประโยชน์จากน้ำ การบริหารจัดการน้ำจึงถือเป็นหัวใจหลักที่บริษัทให้ความสำคัญและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อรับรองว่าการใช้ทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในขณะเดียวกัน การบำบัดน้ำจากกระบวนการผลิตก่อนที่จะระบายออกสู่ภายนอกโรงงานเป็นขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังรวมถึงการดำเนินมาตรการอนุรักษ์น้ำภายในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำสูงสุด ด้วยการดำเนินการเหล่านี้ บริษัทฯ ตั้งใจที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการจัดการน้ำของตนเอง พร้อมทั้งส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว
ผลการดำเนินงาน
การใช้น้ำในองค์กรมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินงานของบริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) จากข้อมูลใน 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าปริมาณน้ำที่ใช้และปริมาณน้ำทิ้งมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำที่ใช้เกือบสองเท่าตัวสะท้อนถึงการขยายตัวของกิจกรรมทางธุรกิจและการเพิ่มความต้องการน้ำในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการบำบัดน้ำเสียยังคงเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การวางแผนการใช้น้ำอย่างยั่งยืนและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
- ปริมาณน้ำใช้มีการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของปริมาณน้ำที่ใช้จากปี 2564 ถึงปี 2567 โดยมีการเพิ่มขึ้นจาก 28,144 ลูกบาศก์เมตรในปี 2564 ไปยัง 56,048 ลูกบาศก์เมตรในปี 2567 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าภายในช่วงเวลาสามปี สะท้อนถึงการขยายตัวของการผลิตหรือการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการต่างๆ
- ปริมาณน้ำทิ้งตามปริมาณน้ำที่ใช้ โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่เปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการใช้น้ำ สะท้อนถึงความพยายามในการลดการสูญเสียน้ำหรือการปรับปรุงกระบวนการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลการใช้น้ำขององค์กร | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|---|
ปริมาณน้ำใช้ (ลบ.ม.) | 28,144 | 53,741 | 50,038 | 56,048 |
ปริมาณน้ำทิ้ง (ลบ.ม.) | 22,515.20 | 42,992.80 | 40,030.40 | 44,838.40 |
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งเป็นส่วนสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ตามที่ได้เปิดเผยในรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring Report) ของโรงงาน PSP1 ประจำปี 2567 พบว่าโรงงานมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งเป็นประจำทุกเดือน เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมและประเมินผลการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ระบบน้ำธรรมชาติ ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งแสดงถึงการตรวจสอบตัวชี้วัด เช่น BOD (Biochemical Oxygen Demand), COD (Chemical Oxygen Demand), และ TSS (Total Suspended Solids) พบว่า
- BOD (Biochemical Oxygen Demand): วัดปริมาณออกซิเจนที่ต้องการในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่า BOD ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่อนุญาตตลอดทั้งปี แสดงถึงการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ
- COD (Chemical Oxygen Demand): ประเมินปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นในการออกซิไดซ์สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในน้ำ ผลการวัดแสดงค่าที่สอดคล้องกับในเกณฑ์มาตรฐานตลอดปี
- TSS (Total Suspended Solids): วัดปริมาณของของแข็งที่แขวนลอยในน้ำ ค่า TSS ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตาม EIA ซึ่งบ่งชี้ถึงการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งอย่างเข้มงวด
ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงาน PSP1 ปี 2567 แสดงถึงการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูงและคงที่ตามมาตรฐาน EIA แนวทางในการปรับปรุงเทคโนโลยีการบำบัดและการจัดการคุณภาพน้ำเสียสามารถช่วยยกระดับการปกป้องทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
Parameter | หน่วย | จุดที่ | ผู้รับผิดชอบ | ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง พ.ศ. 2567 | มาตรฐาน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | |||||
pH | - | Effluent | LP | 6.1 | 8.8 | 8.1 | 8.3 | 6.9 | 7.6 | 8.4 | 8.8 | 8.4 | 8.9 | 8.2 | 8 | 5.5 - 9.0 |
TDS | mg/l | Effluent | LP | 213 | 171 | 178 | 181 | 144 | 130 | 256 | 206 | 152 | 148 | 186 | 169 | ≤ 5,000 above natural water source |
SS | mg/l | Effluent | LP | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | 50 |
BOD | mg/l | Effluent | LP | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | 20 |
COD | mg/l | Effluent | LP | <40 | <40 | 41 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | 120 |
Oil and Grease | mg/l | Effluent | LP | 1.6 | 1.6 | <1 | 1.2 | 2 | 1.2 | <1 | 1.5 | 1.7 | <1 | <1 | <1 | 5 |
Barium | mg/l | Effluent | LP | 0.05 | 0.05 | 0.05 | 0.05 | 0.05 | 0.06 | 0.05 | 0.06 | 0.05 | 0.05 | 0.06 | 0.05 | 1 |
Parameter | หน่วย | จุดที่ | ผู้รับผิดชอบ | ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง พ.ศ. 2567 | มาตรฐาน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | |||||
pH | - | ท่า 5 | JT | 6.4 | 7.6 | 7.7 | 8.5 | 8.3 | 6.9 | 8.4 | 8.2 | 7.2 | 8.4 | 8.2 | 7.4 | 5.5 - 9.0 |
Color (ADMI) | ADMI | ท่า 5 | JT | 25 | 30 | 5 | <5 | 7.2 | 5.5 | <5 | <5 | <5 | <5 | 9 | 14 | 300 |
TDS | mg/l | ท่า 5 | JT | 870 | 11200 | 126 | 151 | 126 | 196 | 221 | 185 | <50 | 86 | <50 | 794 | ≤ 5,000 above natural water source |
SS | mg/l | ท่า 5 | JT | 6.3 | 15 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | <5 | 11 | 50 |
BOD | mg/l | ท่า 5 | JT | 9.5 | 8.6 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | <2 | 2.6 | <2 | 19 | 20 |
COD | mg/l | ท่า 5 | JT | 58 | 90 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | <40 | 58 | 120 |
Sulfide | mg/l | ท่า 5 | JT | 0.7 | 1.6 | 0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | <0.4 | 1 |
Oil and Grease | mg/l | ท่า 5 | JT | 1.4 | 2.4 | 1.2 | 2 | <1 | <1 | 1.1 | 1.9 | 1.1 | <1 | <1 | 4.4 | 5 |
TKN | mg/l | ท่า 5 | JT | 3.4 | 5.7 | 1.4 | <1 | <1 | <1 | 1.5 | <1 | <1 | 2.3 | 4.2 | 13 | 100 |
หมายเหตุ:
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม
การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสียของบริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ในปี 2567 ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ด้วยการติดตั้งระบบที่ทันสมัย การตรวจสอบอย่างรอบคอบ และการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านคุณภาพน้ำและการปล่อยน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
การบริหารจัดการขยะ
บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญในการจัดการของเสียในกระบวนการผลิตและงานบริการตามที่กฎหมายกำหนด และคำนึงถึงการทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นการนำหลักการจัดการของเสียตามหลัก 3R และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในทุกกระบวนการของห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของบริษัท ลดการสูญเสียทรัพยากร ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำ และเน้นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2567 บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดการขยะตามที่กฎหมายกำหนดและตามหลักการ 4Rs (Reduce, Reuse, Recycle, และ Repurpose) อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
การลดการใช้ทรัพยากร (Reduce)
บริษัทได้พัฒนากระบวนการผลิตให้มีความมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรและขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน ผลลัพธ์จากการปรับปรุงนี้ทำให้ลดการใช้วัตถุดิบ และลดการเกิดขยะของเสียจากการผลิตลงได้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เช่น บริษัทฯ ริเริ่มโครงการประหยัดน้ำ, ไฟ, ลดการใช้กระดาษในสำนักงาน การใช้กระดาษถ่ายเอกสารให้ครบหน้า-หลัง, มีการจัดวางวัตถุดิบ สินค้าคงคลังแบบ FIFO (First-In First-Out) ตามระยะเวลาการใช้งาน และการลดของเสียจากวัตถุดิบคงค้างในสต็อคจากวันใกล้หมดอายุมาใช้ก่อน
การใช้ซ้ำ (Reuse)
บริษัทฯ ได้ทำการซ่อมแซมและปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อยืดอายุการใช้งาน รวมถึงการนำวัสดุบางประเภทที่เหลือจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการผลิตใหม่ การนำกลับมาใช้นี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดปริมาณขยะได้อย่างมาก เช่น กระบวนการยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ การนำไม้พาเลทมาใช้ซ้ำ
การรีไซเคิล (Recycle)
บริษัทมีคัดแยกขยะภายในโรงงาน เพื่อรวบรวมและแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกับบริษัทผู้รับกำจัดขยะ ช่วยให้ขยะที่รีไซเคิลได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ส่งผลให้ลดการใช้ทรัพยากรใหม่และลดต้นทุนการผลิตรวมได้ เช่น ของเสียจากน้ำมันและสารต่างๆ นำมาเป็น Cleaning Solvent แต่ละประเภท เช่น การล้างคราบน้ำมันใน Drum, Barrel, Pump
การนำขยะหรือวัสดุมาใช้ใหม่ (Repurpose)
บริษัทได้พัฒนาโครงการสำหรับการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตัวอย่างเช่น การนำพลาสติกเหลือใช้มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดขยะที่ต้องกำจัด เช่น โครงการคัดแยกขยะเปลี่ยนขยะเป็นสิ่งของพัฒนาสิ่งแวดล้อมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “ธนาคารขยะรีไซเคิล (Recycle Waste Bank)” ร่วมกับพื้นที่โรงเรียนและเทศบาลท่าจีน ได้แก่ โรงเรียนหลวงแพทย์โกศลอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดชีผ้าข้าว (ประชานุเคราะห์) โรงเรียนวัดใหญ่จอมปราสาท และเทศบาลตำบลท่าจีน ทั้งนี้ผลการดำเนินงานโครงการ "ธนาคารขยะรีไซเคิล (Recycle Waste Bank)" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สรุปได้ดังนี้
โครงการ "ธนาคารขยะรีไซเคิล" ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนในชุมชน โดยเน้นการลดปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบการกำจัดขยะธรรมดาและเพิ่มการรีไซเคิลผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้หลักการ 4Rs ได้แก่ Reduce, Reuse, Recycle และ Repurpose มีการรวบรวมข้อมูลจากหลายสถานที่ในชุมชนได้รับการจัดการอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สามารถติดตามปริมาณขยะที่ถูกจัดการในแต่ละเดือน โดยข้อมูลประกอบด้วยหมวดหมู่ขยะต่างๆ เช่น ขวดพลาสติก, พลาสติก, ขวดแก้ว, เหล็ก, กระดาษ, และกระป๋อง ผลลัพธ์ที่ได้รับ ดังนี้
- สามารถลดการใช้วัสดุใหม่เน้นที่การใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยมีการลดการใช้พลาสติกและกระดาษใหม่ในกระบวนการผลิตของโรงงานในชุมชน
- สามารถส่งเสริมการใช้ซ้ำของวัสดุ เช่น เหล็กและกระดาษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการใช้วัสดุที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ใหม่
- ชุมชนมีความตระหนักในการรีไซเคิลปริมาณขยะรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มขวดพลาสติกและกระดาษ
- มีการนำขยะรีไซเคิลมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในชุมชน
โครงการ "ธนาคารขยะรีไซเคิล" ประสบความสำเร็จในการทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการปรับปรุงทั้งในด้านการลดขยะที่เกิดขึ้นและการเพิ่มประสิทธิภาพการรีไซเคิล อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในด้านของการรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน โครงการควรเพิ่มกิจกรรมการอบรมและสร้างความตระหนักเพื่อให้มีการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิล โครงการนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในหมู่ชุมชนอีกด้วย. การต่อยอดกิจกรรมและเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนยังคงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความยั่งยืนในระยะยาว
การดำเนินการตามหลักการ 4Rs นี้ได้ทำให้บริษัทสามารถบรรลุความสำเร็จในด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงปรับปรุงความยั่งยืนในการดำเนินงานโรงงานอุตสาหกรรม ผลลัพธ์เหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าบริษัทมุ่งมั่นในการดำเนินการที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรและการรักษาความยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในด้านของทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตสินค้าหลายประเภทที่บริษัทฯ มีการวางจำหน่าย ทั้งนี้การดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้อย่างยั่งยืน การบริหารจัดการป่าไม้ของบริษัทฯ สะท้อนถึงการปฏิบัติตามหลักสากลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับใช้ในการติดตามและประเมินผลการใช้ทรัพยากร ตลอดจนการพัฒนาวิธีการปลูกป่าและการจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา เป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผู้บริโภคและชุมชนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ การยกระดับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประกันความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาวด้วย
ผลการดำเนินงาน
สำหรับการรักษาและดูแลความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่บริษัทและโรงงาน บริษัทได้ใช้แนวคิดในการออกแบบอาคารสำนักงานบนหลัก Green Architect ที่เน้นให้สถาปัตยกรรมอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และ แนวคิดเรื่อง A sustainable site plan of green construction คือ แนวคิดการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยยึดหลักความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environment-Friendly) ที่สามารถทำให้เกิดการใช้ Sustainable energy sources เช่น การอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลน และการก่อสร้างที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด ตามหลักการออกแบบอาคารโดยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสืบเนื่องจากกิจกรรมการประกอบกิจการของบริษัท การออแบบอาคารสำนักงานของบริษัทบนหลักการ Green Architect ประกอบด้วย

- การเพิ่มไหลเวียนอากาศที่ดี เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารมากที่สุด
- การมีพื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์ ลานกิจกรรม และห้องอาหารที่โล่ง โปร่ง กว้างและรับลม ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน
- การปลูกต้นไม้ใหญ่ใกล้ตัวอาคารเพื่อให้เกิดร่มเงาลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และสร้างความสบายตาจากพันธุ์ไม้โดยรอบพื้นที่อาคาร
- การกำหนดตำแหน่งห้องประชุมให้สามารถรับแสงธรรมชาติมากที่สุด
- การเลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานแบบ LED ในการส่องสว่าง เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
- การออกแบบทางเดินรอบอาคารที่สว่าง
- การเก็บรักษาพื้นที่ป่าชายเลนและการเลือกปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพิ่มเติมให้ใกล้กับตัวอาคาร เพื่อเป็นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ